วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555


มโนราห์
พระสุธน – มโนราห์ เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ที่นำมาจากชาดกได้นำมาเป็นวรรณคดีประกอบละครนอกใน สมัยอยุธยา เป็นเรื่องความรักแท้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรคใดๆ และตัวด้วยสัญญาแห่งความรักที่มั่นคง ถึงแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ แต่อยู่ด้วยกันได้ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรต่อกันระหว่างพระสุธน ซึ่งเป็นมนุษย์ กับนางมโนราห์ ซึ่งเป็นกินรี ที่พรานบุญจับมาถวาย ตอนเด่นของเรื่องเป็นตอนที่นางมโนราห์ ถูกกลั่นแกล้งใส่ความจนต้องถูกจับไปบูชายัญ แต่นางหลอกขอปีกขอหางบินหนีรอดไปได้ เมื่อพระสุธนกลับมารู้ข่าวก็รีบตามนางไปแม้หนทางนั้นจะยากลำบาก ในที่สุดก็สามารถตามนางคืนมาได้
๑. บทบาทของนางมโนราห์
                ๑.๑ การดำเนินเรื่อง
                       นางมโนราห์เป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญที่สุด  นาง นั้นเป็นนางเอกของเรื่อง และเรื่องก็เกิดจากนางที่ถูกพรานบุญจับตัวมาถวายแก่พระสุธน และนางยังถูกคนที่ไม่ชอบกลั่นแกล้งอีก จึงทำให้คนรักต้องออกตามหาแล้วในที่สุดก็อยู่อย่างมีความสุข
                ๑.๒ ชะตาชีวิตของนางมโนราห์
                            นางมโนราห์ มีชะตาชีวิตที่น่าสงสารตั้งแต่เริ่มที่ถูกพรานบุญจับตัวมา นางต้องพลัดพรากจากบิดามารดา แล้วยังต้องพลัดพรากจากชายผู้เป็นที่รัก ถือว่านางต้องมีความทุกข์ก่อนที่จะมีความสุข
๒.รูปโฉมของนางมโนราห์
                   มโนราห์เป็นหญิงสาวที่มีโฉมงดงาม ดังที่กวีได้กล่าวชื่นชมความงามของนางมโนราห์โดยผ่านนางจันทเทวีว่า
                                                 "  พระองค์สองกษัตรา                 มีโสมนัสเสน่หา
                                                   พิศโฉมมโนห์รา                     ยิ่งหยาดฟ้าลงมาดิน
                                                   สมเด็จพระเจ่าแม่                   ตั้งตาแลเร่งถวิล
                                                   ดังจะกล้ำกลืนกิน                   โฉมเฉิดฉินพ้นพรรณนา
                                                   ตรัสถามถึงเค้ามูล                   นางกราบทูลแต่หลังมา
                                                   ได้ฟังพระวาจา                       สุรเสียงเพระชอบพระทัย
                                                   แสนสวาทของมารดา               ปลื้มวิญญาณ์ยอดพิสมัย
                                                  เชิญองค์อรทัย                       เข้ามาใกล้ลูบปฤษฎางค์
                                                  พิศเพ่งผิวพักตรา                     วรกายาลักษณะนาง
                                                  พระองค์ทรงสำอาง                  ผิวเปรียบยังดอกมณฑา
                                                  รูปร่างนางที่สุด                      ล้ำมนุษย์เลิศเลขา
                                                  สมเด็จพระมารดา                   ชมกัลยาไม่อิ่มใจ"
(สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๔๙)
๓. ลักษณะนิสัยของนางมโนราห์
๓.๑ ความรัก และความสัตย์
๓.๒ ความกตัญญูของนางมโนราห์
๓.๓ การรู้จักให้อภัยของนางมโนราห์
๓.๔ ความรักนวลสงวนตัวของนางมโนราห์
๓.๕ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของนางมโนราห์
๓.๖ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของนางมโนราห์
๔. สติปัญญา ความสามารถของนางมโนราห์
                ๔.๑ สติปัญญา (มีเหตุผล)
                        เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังตอนที่นางมโนราห์ได้หาเหตุผลมาหว่านล้อมพรานบุญเพื่อให้ปล่อยตน
                ๔.๒ สติปัญญา (เฉียบแหลม)
                          นางมโนราห์ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาความปราดเปรื่องเฉียบแหลม รู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่มีเหตุผล
๔.๔ ความสามารถของนางมโนราห์
               นางมโนราห์ มีความสามารถ คือ นางสามารถบินได้ เพราะนางเป็นกินรี นางสามารถเสกของวิเศษได้ จากตอนที่นางหนีมาจากเมืองแล้ว นางได้เสกของฝากพระฤๅษี มีดังนี้ ผ้าก้มพลกับแหวน แล้วบอกว่า ถ้าพระสุธนมาถามขอให้มอบของสองอย่างนี้ให้
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะนางสมารถให้สติปัญญาได้เป็นอย่าง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เพราะนางมีสติอยู่กับตัวตลอด ไม่ตื่นเต้นตกใจอะไรง่าย พูดถึงนางแล้วนั้นนางงามทั้งรูปสมบัติ และคุณสมบัติ เหมาะกับการเป็นลูกของกษัตริย์จริงๆ นางเหมาะสมที่จะเป็นนางในวรรณคดีที่สำคัญคนหนึ่ง              
  จาก การศึกษาวิเคราะห์ตัวละคร นางมโนราห์เป็นตัวละครที่มีรูปโฉมงดงาม เกิดในชาติตระกูลสูง และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งการสร้างตัวละครให้มีลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อให้ตัวละครเป็นตัวแทนของความ ดีหรือเป็นสัญลักษณ์ของความดี เพื่อให้ผู้อ่านจะได้เลียนแบบปฏิบัติตามการกระทำที่ดีของตัวละครคือ นางมโนราห์   นางมโนราห์นับได้ว่าเป็นตัวละครที่ได้สอดแทรกคติ ธรรมคำสอนไว้อย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อดำรงชีวิตแก่ผู้ที่ศึกษาได้อย่างดี แล้วยังมีแนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรม และแนวคิดเรื่องย่อยคือ เรื่องสติปัญญาและความรอบคอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักแล้วเป็นทุกข์  ความกตัญญู ความรักและความซื่อสัตย์  และการรู้จักให้อภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ให้คุณค่าแก่บุคคลที่ศึกษามาก และสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้



นางมโนราห์
จากวรรณคดีไทย เรื่องพระสุธน  มโนราห์
 
                          พระสุธน  มโนราห์ เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ที่นำมาจากชาดกได้นำมาเป็นวรรณคดีประกอบละครนอกในสมัยอยุธยา เป็นเรื่องความรักแท้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรคใดๆ และตัวด้วยสัญญาแห่งความรักที่มั่นคง ถึงแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ แต่อยู่ด้วยกันได้ ด้วยความเห็นอกเห็นใจเอื้ออาทรต่อกันระหว่างพระสุธน ซึ่งเป็นมนุษย์ กับนางมโนราห์ ซึ่งเป็นกินรี ที่พรานบุญจับมาถวาย ตอนเด่นของเรื่องเป็นตอนที่นางมโนราห์ ถูกกลั่นแกล้งใส่ความจนต้องถูกจับไปบูชายัญ แต่นางหลอกขอปีกขอหางบินหนีรอดไปได้ เมื่อพระสุธนกลับมารู้ข่าวก็รีบตามนางไปแม้หนทางนั้นจะยากลำบาก ในที่สุดก็สามารถตามนางคืนมาได้
๑. บทบาทของนางมโนราห์
                ๑.๑ การดำเนินเรื่อง

 
                      นางมโนราห์เป็นตัวดำเนินเรื่องที่สำคัญที่สุด  นางนั้นเป็นนางเอกของเรื่อง และเรื่องก็เกิดจากนางที่ถูกพรานบุญจับตัวมาถวายแก่พระสุธน และนางยังถูกคนที่ไม่ชอบกลั่นแกล้งอีก จึงทำให้คนรักต้องออกตามหาแล้วในที่สุดก็อยู่อย่างมีความสุข                ๑.๒ ชะตาชีวิตของนางมโนราห์
                            นางมโนราห์มีชะตาชีวิตที่น่าสงสารตั้งแต่เริ่มที่ถูกพรานบุญจับตัวมา นางต้องพลัดพรากจากบิดามารดา แล้วยังต้องพลัดพรากจากชายผู้เป็นที่รัก ถือว่านางต้องมีความทุกข์ก่อนที่จะมีความสุข  ดังความตอนที่นางมโนราห์เศร้าโศกเสียใจกับการที่จะต้องพลัดพรากจากพระสุธน  อันเนื่องจากพระสุธนต้องเสด็จไปทำการศึกว่า
   สุรางคนางค์
                                                สุธนภูธร   น้อมเศียรยอกร    รับพระชนนี
                                มโนห์ราขยาย      คลายมวยเกศี    เช็ดบาทสามี    โศกีร่ำไร
                                                ซบเศียรพักตรา    ลงกับบาทา       ชลนาหลังไหล
                                ฝ่ายพระสามี     สุดที่อาลัย      ยอกรลูบไล้     สัมผัสปฤษฎางค์
                                                สมเด็จมารดา      มีพระวาจา       ประโลมปลอบพลาง
                                เจ้าอย่าโศกา     ลูกยาเป็นลาง     เงยพักตร์ขึ้นบ้าง    ให้สร่างโศกี
                                                                         (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๖๗)

                จากคำประพันธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความทุกข์ที่เกิดจากพลัดพรากจากคนรัก ดังที่นางมโนราห์ได้แสดงความเศร้าโศกเสียใจที่พระสุธนผู้เป็นสามีจะต้องจากนางไปเพื่อทำการศึก
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์เพราะการที่ต้องจากคนรักนั้นก็ต้องเสียใจเป็นเรื่องธรรมดา จากบทประพันธ์ข้างจะเห็นถึงประเพณีอย่างที่นางมโนราห์แสดงให้เห็นคือ การที่เอาผมมาลูบที่เท้า ซึ่งถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง ประเพณีนี้จะปรากฏในวรรณคดีเรื่องอื่นด้วย เช่น สังข์ทอง อิเหนา พระเวสสันดรชาดก ลิลิตพระลอ เป็นต้น ชะตาชีวิตของนางมโนราห์นี้ชั่งน่าสงสารเหลือเกิน ถ้าดิฉันเป็นนางมโนราห์แล้วคงจะเสียใจมากๆ เลยทีเดียว


๒.รูปโฉมของนางมโนราห์
                   มโนราห์เป็นหญิงสาวที่มีโฉมงดงาม ดังที่กวีได้กล่าวชื่นชมความงามของนางมโนราห์โดยผ่านนางจันทเทวีว่า

      กาพย์ยานี
                                                                พระองค์สองกษัตรา                มีโสมนัสเสน่หา
                                                พิศโฉมมโนห์รา                                     ยิ่งหยาดฟ้าลงมาดิน
                                                                สมเด็จพระเจ่าแม่                   ตั้งตาแลเร่งถวิล
                                                ดังจะกล้ำกลืนกิน                                    โฉมเฉิดฉินพ้นพรรณนา
                                                                ตรัสถามถึงเค้ามูล                    นางกราบทูลแต่หลังมา
                                                ได้ฟังพระวาจา                                        สุรเสียงเพระชอบพระทัย
                                                                แสนสวาทของมารดา               ปลื้มวิญญาณ์ยอดพิสมัย
                                                เชิญองค์อรทัย                                          เข้ามาใกล้ลูบปฤษฎางค์
                                                                พิศเพ่งผิวพักตรา                     วรกายาลักษณะนาง
                                                พระองค์ทรงสำอาง                                  ผิวเปรียบยังดอกมณฑา
                                                                รูปร่างนางที่สุด                        ล้ำมนุษย์เลิศเลขา
                                                สมเด็จพระมารดา                                    ชมกัลยาไม่อิ่มใจ
                                                                           (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๔๙)
 

                 
จากคำประพันธ์ข้างต้น  แสดงให้เห็นถึงความงามของนางมโนราห์ ซึ่งเห็นได้จากคำประพันธ์ดังนี้ พระอาทิตยวงศ์และนางจันทเทวี ที่มีความชื่นชมรักใคร่นางมโนราห์ และได้ชมความงามของนางมโนราห์ว่างามเหลือเกินยิ่งหยาดฟ้าลงมาดิน นางจันทเทวี ชมนางมโนราห์ว่างามทั้งเสียง และรูปโฉมของนาง ถึงกับบอกว่าชมอย่างไรก็ไม่ครบสักทีเพราะว่านางงาม       เหลือคำบรรยาย
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์เพราะนางมโนราห์ นั้นงามมาก วรรณคดีทุกเรื่องนางเอก         จะต้องมีความงามเป็นพิเศษ งามที่สุดในเรื่องเช่น นางบุษบา ยังงามมากจนผู้ที่พบเห็นยังสลบเลย นางมัทนาก็ยังงามมาก จนกระทั่งเทพยังหลงรัก  เป็นต้น 

๓. ลักษณะนิสัยของนางมโนราห์
                ๓.๑ ความรัก และความสัตย์
                      เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ ดังความตอนที่นางมโนราห์กล่าวสั่งเสียถึง
พระสุธนกับนางจันทเทวีก่อนที่จะบินไปจากการถูกจับบูชายัญว่า

  กาพย์ยานี
                                                                อันเกล้ากระหม่อมฉัน                     จะปฏิญาณอย่าสงสัย
                                                จากฝ่าพระบาทไป                                           จนบรรลัยไม่คิดปอง
                                                                ไม่ร่วมเสน่หา                                  ภัสดาจนถึงสอง
                                                มิให้ชายใดครอง                                              สัมผัสต้องพระกายา
                                                                อันนอกจากพระองค์                        มิได้ปลงเสน่หา
                                                ขอเป็นบริจา                                                    กับราชาทุกชาติไป
                                                                             (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๙๐)

                จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความรัก และความซื่อสัตย์ของนางมโนราห์ เห็นได้จากที่นางมโนราห์ปฏิญาณตนว่า จะไม่ของครองคู่กับชายอื่นใดนอกเสียจากพระสุธนและขอเป็นพระมเหสีของพระสุธนทุกชาติไป นับว่าเป็นจารีตนิยมอย่างหนึ่งของนางในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปที่เป็นคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของหญิงไทยในสังคมไทยในสังคมสมัยโบราณ
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์แต่ไม่ทั้งหมดในเรื่องของผู้หญิงไทยที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามีในสังคมสมัยโบราณ  ดิฉันคิดว่าหญิงไทยที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามีในสังคมไม่ได้มีแต่สมัยโบราณ ในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ อย่างเช่น ดิฉันคนหนึ่งที่มีความคิดเดียวกับมโนราห์ในเรื่องนี้
                         
                ๓.๒ ความกตัญญูของนางมโนราห์
 
                             
                               เห็นได้จากพฤติกรรมของมโนราห์ ดังความตอนที่นางถูกพรานบุญจับและคร่ำครวญ
ถึงมารดาว่า
   กาพย์สุรางคนางค์
                                                สงสารมารดา   จะเสวยชลนา   เป็นนิจนิรันดร์
                                โศกถึงลูกรัก     กลัวจักอาสัญ    เห็นทีชีวัน   ชีพไม่มีใน
                                                เมื่อจรลี           เบญจางค์ดุษฎี   สามทีคลาไคล
                                พิลาปร่ำสั่ง      ฟากฝั่งสระใหญ่   ทุกเทพอยู่ใน  ป่าระหงดงดาน
                                                ได้โปรดเกศา   พระแม่ตามมา    ช่วยบอกข่าวสาร
                                ว่าข้ามโนห์รา   ลาไปกับกับพราน  ถ้ายังโปรดปราน ให้เร่งตามไป
                                                                       (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๓๑)

                 จากคำประพันธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูของนางมโนราห์ ที่มีต่อมารดาของตน เพราะว่าตัวถูกจับ แต่ยังคิดถึงแม่ ยังเป็นห่วงแม่กลัวแม่จะมาตามหา นางก็เลยฝากเจ้าป่าเจ้าเขาได้ให้ช่วยบอกลาแม่ของนาง เมื่อออกมาตามหานาง
                 จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะนางมีความกตัญญูต่อมารดาของตน ดิฉันจึงอยากให้ทุกคนในสังคม มีความกตัญญูเหมือนนางมโนราห์ สังคมจะได้ดีขึ้น แล้วจะไม่เกิดปัญหา เช่น เรื่องคนชราถูกทอดทิ้งให้ไปอยู่สถานสงเคราะห์

                ๓.๓ การรู้จักให้อภัยของนางมโนราห์
 
                          เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังความตอนที่นางมโนราห์ได้ให้อภัยแก่ พระอาทิตยวงศ์ผู้ที่เคยคิดร้ายต่อนางมาก่อนว่า

กาพย์สุรางคนางค์
                                                               
                                                                ฝ่ายองค์ราชา     อาทิตยวงศา      ผู้รุ่งรัศมี
                                                เอื้อนอรรถวาจา   ว่าแก่เทวี   ลูกเอยพ่อนี้    จะขอษมา
                                                                ฟังประโรหิต   บิดาได้ผิด  จงอดโทษา
                                                แต่นี้สืบไป   มิให้อะนา   ฝ่ายนางมโนห์รา   ก็ไม่ถือใจ
                                                                         (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๑๘๐-๑๘๑)

                 
จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการรู้จักให้อภัยผู้อื่น  ดังเห็นได้จากการที่พระอาทิตยวงศ์มาขอขมาโทษนางมโนราห์ และนางมโนราห์ได้ให้อภัย และไม่ถือโทษโกรธเคืองพระอาทิตยวงศ์ที่เคยคิดร้ายต่อนางมาก่อน                 จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะการให้อภัยนั้นเป็นสิ่งที่ดี แล้วก็จะคนรักเรามากขึ้น การที่มีคนรักดีกว่ามีคนเกลียดชัง
                 ๓.๔ ความรักนวลสงวนตัวของนางมโนราห์                          เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังความตอนที่นางมโนราห์ไม่ยอมให้พรานบุญถูกเนื้อต้องตัวนางในขณะที่พรานบุญกำลังจะจับนางขึ้นจากสระน้ำว่า
กาพย์สุรางคนางค์
                                                                นายพรานเห็นช้า   ลงไปจะไปคว้า   กรนิรมล
                                                ยังยืนอยู่ไย    ไม่ขึ้นมาบน  เห็นว่าจะพ้น  มือแล้วหรือไร
                                                                นางว่าพี่เอ๋ย  อย่าต้องน้องเลย   ข้าจะขึ้นไป
                                                เหม็นสาบพี่นัก   ปิ่มจะขาดใจ  ให้พรานถอยไป   ทรามวัยขึ้นมา
                                                                       (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๒๘)

                จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นถึง นางมโนราห์เป็นหญิงที่รู้จักรักนวลสงวนตัว ไม่ยอมให้ชายแปลกหน้ามาถูกเนื้อต้องตัว นางได้หาข้ออ้างว่าตัวพรานบุญนั้นเหม็นสาบจนเป็นลมตายนี่ถือเป็นอุบายอย่างหนึ่งด้วย
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะผู้หญิงควรรักนวลสงวนตัวไว้ เป็นสิ่งสำคัญแก่ผู้หญิง  
ทุกคนอยู่แล้ว คนสมัยโบราณ ถ้ามีการถูกเนื้อตัวตัวกันที่มิใช่บิดาหรือญาติพี่น้องแล้วก็ถือว่าผิดผี แต่คนไทยสมัยปัจจุบัน            ไม่ค่อยถือเรื่องนี้แล้ว

                ๓.๕ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของนางมโนราห์                         เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังความตอนที่นางมโนราห์ ไม่ถือตนเป็นลูกกษัตริย์ รู้จักมีสัมมาคาระ
  ต่อผู้อาวุโสกว่า ว่า   กาพย์สุรางคนางค์
                                                                ทุกวันตัวนี้    เจียมจิตสุดที่   ไม่ถือยศถา
                                                กรรมพลัดพรากวงศ์  ฝากฝังกายา    ไม่คิดเลยนา  เป็นคนใจดี
                                                                ผู้ใดมาหา    อายุสูงกว่า     เรียกว่าน้าพี่
                                                ครั้นเรียกลุงป้า    น้าอาก็มี   ไม่หยาบย่ำยี    หยาบช้าแก่ใคร
                                                                เสงี่ยมเจียมองค์   ไม่คิดยศยง   เย่อหยิ่งสิ่งใด
                                                หมายฝากสังขาร   ทั่วทุกคนไป  ควรหรือยังไม่  รอดตายวายชนม์
                                                                         (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๘๔) 

                จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่านางมโนราห์มีความอ่อนน้อมถ่อมตน นางไม่ถือตนว่าเป็นลูกของกษัตริย์ ดังเห็นได้จากนางมโนราห์เรียกผู้ที่อายุสูงกว่าว่า พี่ ลุง ป้า น้า อา ซึ่งแสดงให้เห็นว่านางมีความรู้จักให้เกียรติและมีสัมมาคาระต่อผู้อาวุโสกว่า
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะการอ่อนน้อมถ่อมเป็นที่คนไทยมีกันอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับคนคนนั้นจะนำมาใช้หรือไม่ แต่ตัวดิฉันนั้นนำมาใช้แน่นอน
               
                  ๓.๖ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของนางมโนราห์
 
                         เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังความตอนที่นางมโนราห์ได้แบ่งปันข้าวของตอบแทนให้แก่ผู้ที่นำข้าวของมาถวายให้ตนในงานอภิเษกสมรสว่า

กาพย์สุรางคนางค์
                                                                ส่วนนางมโนราห์   พลัดบ้านเมืองมา   มิได้ราคี
                                                ของเมืองโน้นให้   ตอบไปตามนี้   มากน้อยถอยที  ตอบไปแทนมา
                                                                สารพัดข้าวของ    แก้วแหวนเงินทอง  มูนมองเหลือตรา
                                                ของเมืองเขาให้  ของใต้ตอบมา   ของท้าวพระยา   ตอบแทนเศรษฐี

                                                                ของถวายด้วยกัน   เอาของเมืองนั้น   ตอบแทบเมืองนี้
                                                ตามน้อยตามยาก      ตามมากตามมี       มิให้เสียที       ที่เขาเข้ามา
                                                                       (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๕๖)
                จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงให้เห็นถึงนางมโนราห์ที่มีจิตใจงดงาม มีความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ต่อคนอื่น นางได้แบ่งปันข้าวของตอบแทนให้แก่ผู้ที่นำข้าวของมาถวายให้แก่นางในงานอภิเษกสมรส
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะการที่นางมโนราห์มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนอื่น ก็ทำให้ผู้คนรักใคร่นางเป็นอย่างมาก ถ้าคนไทยสมัยปัจจุบันมีความคิดเหมือนนางมโนราห์สังคมได้จะหน้าอยู่แค่ไหน

 ๔. สติปัญญา ความสามารถของนางมโนราห์
                ๔.๑ สติปัญญา (มีเหตุผล)

                        เห็นได้จากพฤติกรรมของนางมโนราห์ดังความตอนที่นางมโนราห์ได้หาเหตุผลมาหว่านล้อมพรานบุญเพื่อให้ปล่อยตนไปว่า

กาพย์สุรางคนางค์
                                                                พี่พาข้าไป   ถวายแก่ท้าวไท    เห็นไม่ได้การ
                                                ถ้าสงค์สมปอง    ได้ของประทาน    ไม่ชอบใจท่าน   พี่พรานเสียที
                                                                บาปกรรมเปล่าเปล่า    มาพรากลูกเขา    จากแม่พาหนี
                                                เวราฆ่าเนื้อ     ก็เหลืออเวจี     ยิ่งทำเช่นนี้      พี่คิดผิดไฉน
                                                                นี่แน่พี่พราน    ถึงของประทาน   จะได้เท่าไหร่
                                                เครื่องทรงกายา   ของข้าจะให้   อย่าพาข้าไป   เลยหนาพี่อา
                                                                ปล่อยน้องครั้งนี้    ยิ่งกว่าหม่อมพี่   ปล่อยนกปล่อยปลา
                                                ทั้งคุณก็คุณ   โดยบุญหนักหนา    ทั้งเวรเวรา    เบื้องหน้าไม่มี
                                                                ทั้งของก็ได้     ชั่วช้าอะไร    เอาไปเถิดพี่
                                                ล้วนดวงจินดา     ควรค่าบุรี     แก้วหาราคี    ที่มีราคา
                                                                     (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๒๙)
                
                          จากคำประพันธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความมีสติปัญญา ซึ่งเห็นได้จากคำพุดของนางมโนราห์ในการหว่านล้อมพรานบุญ โดยการยกเอาเหตุผลต่างๆ เช่น เรื่องบุญบาปมาล่อใจให้พรานบุญปล่อยนาง หรือการใช้ทรัพย์สินของนางเป็นเครื่องล่อใจให้พรานบุญตกลงใจยอมปล่อยตน และการอ้างเหตุผลว่าหากพรานบุญนำไปถวายท้าวไทแล้วท่านไม่ทรงโปรดก็จะเสีย   การเปล่า สู้เอาทรัพย์สินของนางไปแทนทั้งของก็ได้ แล้วยังจะได้บุญอีก ซึ่งการใช้เหตุผลและยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนมีเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ไขได้เป็นอย่างดี
                ๔.๒ สติปัญญา (เฉียบแหลม)                          นางมโนราห์เป็นผู้ที่มีสติปัญญาความปราดเปรื่องเฉียบแหลม รู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ รู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เป็นคนที่มีเหตุผล ดังความตอนที่นางได้ใช้สติปัญญาในการคิดอุบายเพื่อหนีเอาตัวรอดจากการถูกจับบูชายัญว่า

กาพย์สุรางคนางค์
                                                                ส่วนนางมโนราห์  ตรึกด้วยปัญญา  จะมานิ่งตาย
                                                จะคิดผ่อนปรน   ด้วยกลอุบาย   กราบถวาย   สมเด็จมารดา
                                                                ชีพจะปลดปลง    จะของแต่องค์   เสียจนหนักหนา
                                                ของเครื่องประดับ    สำหรับองค์มา    ขอพระมารดา   จงได้โปรดปราน
                                                                ของข้าทั้งนี้    บิดาชนนี    ประทานแก่ฉัน
                                                ขอมาอภิวาท   ต่างบาทบทมาลย์    ถ้าลูกสิ้นปราณ    ได้คิดตัวไป
                                                                สมเด็จชนนี    ได้ฟังเทวี   ไม่มีสงสัย
                                                กุญแจไขหีบ   รีบเบิกทันใจ   เอาปีกหางให้    ศรีสะใภ้ด้วยดี
                                                                       (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๘๖-๘๗)

                จากคำประพันธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนางมโนราห์ได้อย่างดี ซึ่งนางมโนราห์ได้ใช้อุบายขอปีกหาง และเครื่องประดับว่า เพื่อมาแต่งองค์
และเป็นสิ่งที่บิดามารดาประทานมาให้ ทั้งนี้เพื่อนำมากราบไหว้แทนตัวบิดามารดาก่อนตาย  ซึ่งนางจันทเทวีก็มอบปีกหางให้นางมโนราห์ทันที

                ๔.๓ สติปัญญา (รอบคอบ)                         การรู้จักใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองปัญหา และความรอบคอบยังปรากฏในความตอนที่นางมโนราห์ได้ทูลขอตามเสด็จพระสุธนไปยังเมืองอุดรปัญจาล์เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าพระสุธนได้เดินทางตามหานางจนสำเร็จจริง ดังคำประพันธ์ว่า

กาพย์สุรางคนางค์
                                                                อนึ่งเล่าราชา    เมื่อแรกจะมา    ตามข้าบทศรี
                                                ยอมตรัสประภาษ    แก้ราชเสนี   ไปได้เทวี    จึงมาเวียงชัย
                                                                มีเพียงมานะ    ความอุตสาหะ   อุตส่าห์มาได้
                                                สมควรปรารถนา  ไม่พาข้าไป   จะได้อันใด  เอาไปเจรจา
                                                                กลับไปเปล่าเปล่า    เสนาเข้าเฝ้า     เขาจะครหา
                                                ถึงจะบอกใคร   ว่าได้มโนห์รา    เป็นแต่วาจา    ไม่มาเห็นจริง
                                                                       (สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยครูเพชรบุรี, หน้า ๑๗๑)

                จากคำประพันธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความรอบคอบของนางมโนราห์ได้ชี้แจงให้                                                       พระสุธนคล้ายตาม โดยการอ้างเหตุผลให้พระสุธนฟังว่า หากพระสุธนไม่นำนางไปด้วยก็จะไม่มีใครเชื่อว่าพระสุธน                   ได้เดินทางมาจนพบกับนางจริง เป็นเพียงแต่คำพูดไม่มีหลักฐานมายืนยัน ดังนั้นจึงควรนำนางไปด้วยเพื่อเป็นเครื่องยืนยัน
 

                ๔.๔ ความสามารถของนางมโนราห์
 
                        นางมโนราห์มีความสามารถ คือ นางสามารถบินได้ เพราะนางเป็นกินรี นางสามารถเสกของวิเศษได้ จากตอนที่นางหนีมาจากเมืองแล้ว นางได้เสกของฝากพระฤๅษี มีดังนี้ ผ้าก้มพลกับแหวน แล้วบอกว่า ถ้าพระสุธนมาถามขอให้มอบของสองอย่างนี้ให้
                จากที่มีผู้วิเคราะห์ไว้ ดิฉันมีความเห็นตรงกับผู้วิเคราะห์ เพราะนางสมารถให้สติปัญญาได้เป็นอย่าง แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เพราะนางมีสติอยู่กับตัวตลอด ไม่ตื่นเต้นตกใจอะไรง่าย พูดถึงนางแล้วนั้นนางงามทั้งรูปสมบัติ และคุณสมบัติ เหมาะกับการเป็นลูกของกษัตริย์จริงๆ นางเหมาะสมที่จะเป็นนางในวรรณคดีที่สำคัญคนหนึ่ง
                จากการศึกษาวิเคราะห์ตัวละคร นางมโนราห์เป็นตัวละครที่มีรูปโฉมงดงาม เกิดในชาติตระกูลสูง และมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งการสร้างตัวละครให้มีลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อให้ตัวละครเป็นตัวแทนของความดีหรือเป็นสัญลักษณ์ของความดี เพื่อให้ผู้อ่านจะได้เลียนแบบปฏิบัติตามการกระทำที่ดีของตัวละครคือนางมโนราห์   นางมโนราห์นับได้ว่าเป็นตัวละครที่ได้สอดแทรกคติธรรมคำสอนไว้อย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อดำรงชีวิตแก่ผู้ที่ศึกษาได้อย่างดี แล้วยังมีแนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรม และแนวคิดเรื่องย่อยคือ เรื่องสติปัญญาและความรอบคอบ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักแล้วเป็นทุกข์  ความกตัญญู ความรักและความซื่อสัตย์  และการรู้จักให้อภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ให้คุณค่าแก่บุคคลที่ศึกษามาก และสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเองได้




ที่มา :http://thaicharm.exteen.comhttp://thaicharm.exteen.com